วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของสื่อ
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด





ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ เรียน
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน


สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

การเลือกสื่อ
การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม
การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็กอย่างมาก  โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่น ถือเป็นรากฐาน (foundation) ที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา
สื่อการสอน
1.เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น
2. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจแก่ผู้เรียน
3. สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันและเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน

4.ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
5. ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อ
6.ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล
สื่อกับผู้สอน
1. การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น
2. สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา
3. เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ
หลักการเลือกสื่อการสอน
ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมก่อน ซึ่งมีหลักการอื่นๆ ประกอบการพิจารณา คือ
1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อน
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจน
6. มีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป คุ้มค่ากับเวลาและการลงทุน
สรุปได้ว่าการเลือกสื่อมาใช้ในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2.จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำบทเรียน
3. ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ แต่ละชนิดว่า สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้
4.ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
การเลือกสื่อการสอนให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และประสบการณ์
ผู้สอนจะต้องกำหนดไว้ว่า จะสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ด้านใดบ้าง
จากบทเรียนนั้น เพื่อเลือกสื่อการสอนให้มีความเหมาะสมกับวิธีการสอน
การเลือกสื่อการสอนให้สัมพันธ์กับขนาดของกลุ่มผู้เรียนและกิจกรรม
ผู้สอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.ขนาดของกลุ่มผู้เรียนว่ามีขนาดใด ผู้เรียนมีจำนวนเท่าไรเพื่อที่จะสามารถจัดการสอนได้อย่างถูกต้อง โดยแบ่งเป็นลักษณะการศึกษารายบุคคล การสอนกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มขนาดธรรมดา
2. ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ต้องการนั้นเป็นอย่างไร เช่น การฟัง
3. ลักษณะของสื่อการสอน ที่ต้องการใช้นั้นคืออะไร การเลือกสื่อการสอนตามประเภทของสื่อ
ผู้สอนอาจต้องการเลือกสื่อประเภทจักษุสัมผัสหรือสื่อประเภทเสียง โดยต้องวิเคราะห์เนื้อหาที่จะสอนว่ามีความจำเป็นต้องใช้สื่ออะไรบ้างเพื่อเป็นสิ่งเร้าในการสอน
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน

3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
4. ขั้นสรุป
5. ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อการสอน
ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้
1.เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการใช้หรือไม่
2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจนเตรียมสถานที่ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม

3. เตรียมพร้อมผู้เรียน โดยมีความแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อว่าเป็นอย่างไร
4. การใช้สื่อ ต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แแล้วเพื่อให้ดำเนินการสอนไปได้อย่างราบรื่น
5. การติดตามผล เพื่อทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนร้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ ผู้สอนจะได้หาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขในการสอนต่อไป
การประเมินสื่อการสอน
การประเมินการใช้สื่อการสอนมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ
การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ
สื่อวัสดุที่เหมาะสมในการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1.เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว ผู้สอนต้องตรวจสอบสิ่งที่จะใช้เป็นสื่อ เลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการเรียน

2. ดัดแปลงจากสื่อที่มีอยู่แล้ว ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อนั้น

3. การออกแบบสื่อใหม่ ผู้สอนต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ หลายอย่าง เช่น ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ลักษณะของผู้เรียน มีงบประมาณเพียงพอ
มีเครื่องมือและผู้ชำนาญในการทำสื่อ


การใช้สื่อ
1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
2. จัดเตรียมสถานที่

3. เตรียมตัวผู้เรียน โดยใช้สื่อนำเข้าบทเรียน

4. ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อ
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเปิดโอกาสให้มีการตอบสนองนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งผู้เรียนจะมีการตอบสนองหรือไม่ ผู้เรียนมีการตอบสนองอย่างเปิดเผย โดยการพูดออกมา หรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองแล้วผู้สอนควรเสริมแรงทันที่เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้
การประเมิน
การประเมินสามารถกระทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
1. การประเมินกระบวนการสอน โดยการประเมินสามารถทำได้ทั้งในระยะก่อน ระหว่าง หลังการสอน

2. การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน ทำได้ด้วยการทดสอบ การสอบปากเปล่า ดูจากผลงานของผู้เรียน

3.การประเมินสื่อและวิธีการสอน โดยผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์การใช้สื่อและเทคนิควิธีการสอนว่าเหมาะสมมาก น้อยเพียงใด


ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี


         1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
         2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
         3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
         4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
         5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
         6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
         7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
         8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
         9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
        10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ ดำเนินการดังนี้
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง

4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่

5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ

แนวทางการพัฒนาสื่อ ควรมีลักษณะเฉพาะดังนี้

1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก

2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย

3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต

4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน


การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน


          ในที่นี้ จะกล่าวถึงการวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ในเบื้องแรก การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural) และการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้
          ขั้น ๑ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis)
          การตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ปรากฏในสื่อ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ถ้าส่วนที่ปรากฏภายในมีลักษณะชัดเจน ง่าย และสะดวกแก่การรับรู้ สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ลักษณะสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อ
          ๑. ลักษณะสื่อ
ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก
                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น